พระราชวังจันทรเกษม

ป้ายทางเข้าพิพิธภัณฑจันทรเกษม
เชื่อว่าหลายๆคนเมื่อไปเที่ยวที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้วนั้น หากไม่ได้แวะมาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม(จัน-กะ-เสม) ก็คงจะรู้สึกว่ายังขาดอะไรไป เอาล่ะค่ะ ข้อมูลในบล็อคนี้ จะเปรียบเสมือนข้อมูลนำทางก่อนที่นักท่องเที่ยวทั้งหลายจะได้ไปเห็นของจริงกันค่ะ 

ให้ข้อมูลโดย ศรัณย์พร อึ้งวนารัชต์
บุตรมณี บุญผล





ประวัติพระราชวังจันทรเกษม
พระราชวังจันทรเกษม หรือวังหน้า ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก (คลองคูขื่อหน้า) ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานได้ว่าสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2120 ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรวรมหาราช ยามเสด็จจากเมืองพิษณุโลกเพื่อมาเฝ้าพระราชบิดามรากรุงศรีอยุธยา จุดที่ตั้งของพระราชวังแห่งนี้ นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของกรุงศรีอยุธยา เพราะตั้งอยู่บริเวณหัวรอ จุดที่บรรจบของแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ที่นี่เป็นกองบัญชาการรับศึกหงสาวดีเมื่อปี พ.ศ.2129 นอกจากนี้พระราชวังแห่งนี้เดิมเคยเป็นวังหน้าในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาหาอุปราชที่สำคัญถึง 8 พระองค์ คือ สมเด็จพระนเรวรมหาราช, สมเด็จพระเอกาทศรถ, เจ้าฟ้าสุทัศน์, สมเด็จพระนารายณ์มหาราช, ขุนหลวงสรศักดิ์(พระเจ้าเสือ), สมเด็จท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ, และ กรมพระราชวังบรวรมหาเสนาพิทักษ์


พระยาโบราณราชธานินท์
ปัจจุบันพระราชวังจันทรเกษมเป็นพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบในอยุธยา สมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ ท่านได้ทำการศึกษาและรวบรามเรื่องราว รวมทั้งวัตถุสิ่งของสำคัญในบริเวณกรุงเก่า ไว้เป็นจำนวนมาก และนำมาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม 

ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พระราชวังจันทรเกษมได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2404 ทรงโปรดฯให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชิดเชื้อพงศ์เป็นแม่กองในการดูแลก่อสร้างพระตำหนักและพลับพลาที่ประทับ จึงได้มีปรับปรุงบูรณะ เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ประทับในเวลาที่พระองค์เสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา และโปรดพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2436 

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชวังจันทรเกษมให้เป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า โดยใช้พระที่นั่งพิมานรัตยาเป็นที่ทำการ จนพระยาโบราณราชธานินทร์ ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้มีการจัดสร้างอาคารที่ทำการภาคขึ้น แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยามาตั้งที่อาคารที่ทำการภาค พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้รวบรวมวัตถุสิ่งของสำคัญในบริเวณกรุงเก่าและบริเวณใกล้เคียงไว้เป็นจำนวนมากมาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม 



จนในปี พ.ศ. 2445 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงแนะนำให้พระยาโบราณราชธานินทร์ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์และ เรียกว่า โบราณพิพิธภัณฑ์ โดยใช้ตึกโรงม้าพระที่นั่งเป็นที่เก็บรวมรวม
พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัตถุต่างๆ มาตั้งแสดงที่บริเวณอาคารพลับพลาจตุรมุข พร้อมทั้งจัดสร้างระเบียงตามแนวอาคารด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก เพื่อจัดตั้งวัตถุ ศิลาจารึก และประติมากรรมต่างๆ จากนั้นจึงตั้งชื่อว่า อยุธยาพิพิธภัณฑ์

พ.ศ.2479 กรมศิลปากร ได้ประกาศให้อยุธยาพิพิธภัณฑ์เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในนาม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาล จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้ง

สิ่งที่น่าสนใจ
สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ถูกปรับปรุงสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เพราะมีบางช่วงที่วังแห่งนี้ถูกเพลิงไหม้ และโดนทำลายไปในช่วงเสียกรุงครั้งที่ 2 จึงทำให้สิ่งที่เหลืออยู่ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจในพระราชวังจันทรเกษมแห่งนี้ เช่น 





พระที่นั่งพลับพลาจัตุรมุข ที่สร้างบนฐานเดิมซึงเป็นแนวอิฐสอปูน เป็นอาคารทรงจัตุรมุข ครึ่งตึกครึ่งไม้ คือฐานเป็นคอนกรีต ตัวอาคารและพื้นเป็นไม้สัก เครื่องบนหลังคาประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา และหางหงษ์แบบไทย มุงด้วยกระเบื้องลอนหรือกาบูแบบจัน เป็นต้น อีกทั้งภายในยังมีพระที่นั่งจำลองของร.4 ด้วย






หน้าทางเข้าตึกมหาดไทย




ตึกที่ทำการภาค หรือตึกมหาดไทย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอาคารชั้นเดียว รูปตัว L เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ วิถีชีวิตริมน้ำ ศิลปวัตถุ ตู้เก็บพระไตรปิฏก อาวุธยุทธภัณฑ์ และเรื่องราวเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาในด้านต่างๆ 









พระที่นั่งพิมานรัตยา

พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นหมู่ตึกสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก จัดแสดงประติมากรรมเป็นพระพุทธรูป เทวรูปสมัยต่างๆ ตรงนี้เดิมเคยเป็นศาลากลางจังหวัดในสมัยรัชกาลที่ 7 และเคยเป็นที่ใช้เป็นที่พิพากษานักโทษ ตัดสินเสร็จก็เอานักโทษไปขังไว้ข้างใต้อาคาร ปัจจุบันจัดแสดงพระพุทธรูปและงานจำหลักไม้สมัยอยุธยาและรัตนโกสินและด้านใต้เป็นที่เก็บวัตถุโบราณประเภทพระพุทธรูป






พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์





พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ เป็นหอสูงสี่ชั้น เป็นที่ประทับเพื่อส่องกล้องทอดพระเนตรดูดวงดาว และสังเกตการณ์ 













โรงม้าพระที่นั่ง


โรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาด 6.00 เมตร 17.00 เมตร ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างสมัยรัชกาลที่ 4 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ ใช้เป็นที่ตั้ง โบราณพิพิธภัณฑ์










แผนที่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม

แผนฉบับย่อ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม 
เปิดให้เข้าชม : วันพุธ-วันอาทิตย์
เวลา : 09.00-16.00 น.
ปิดให้บริการ : วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

อ้างอิง
http://www.holidaythai.com/Thailand-Attractions-1142.htm
https://pantip.com/topic/35861037
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chantharakasem/index.php/th/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81-frontpage-2/10-about-us.html

ความคิดเห็น